วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

สรุปวิจัย



📍การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี📍


🔎ความหมายของการจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่
การเรียนรู้ของเด็กต้องเกิดจากการเห็นอย่างเป็นรูปธรรม การสัมผัส การได้หยิบจับ และ
ทดลองด้วยตนเองตามรูปแบบอย่างมีขั้นตอนและเป้าหมาย เด็กจะเรียนรู้อย่างเข้าใจจาก การสัมผัส
การใช้สมาธิและมีวินัยในตน ผลการเรียนรู้อย่างมีขั้นตอนจะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาในทุกๆด้าน ทั้งการคิด
การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น และการใช้กล้ามเนื้อ อุปกรณ์ เป็นสื่อการสอนที่สำคัญที่ทำ ให้เด็กพัฒนา
ความรู้และความคิดอย่างมีระบบ
🔏โดยสรุปการจัดการเรียนการสอนตามแนวการสอนแบบของมอนเตสเซอร์รี่มุ่งเน้นการให้
ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการสังเกต และการสำรวจด้วยตนเอง หรือ
สนับสนุนผู้เรียนให้เรียนรู้ด้วยตนเอง



👉วัตถุประสงค์ของการวิจัย
      1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังได้รับการจัด
ประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่
      2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่

👉ขอบเขตการวิจัย
       1. ขอบเขตประชากร ได้แก่ เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ ชั้นอนุบาล 2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1 จำนวน 6 ห้อง มีนักเรียน จำนวน 144 คน
       2. ขอบเขตตัวแปร
ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ตามแนวการสอนแบบ มอนเตสซอรี่
ตัวแปรตาม ได้แก่
                 1) ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 3 ด้าน คือ ทักษะด้านการสังเกต ทักษะด้านการจำแนก
ประเภททักษะด้านการสื่อความหมาย
               2) ความพึงพอใจ คือ ระดับความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่
                 3) ขอบเขตเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ดำ เนินการในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2557 -

ธันวาคม 2557

👉แนวคิดหลักการทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่
การสอนเด็กให้เกิดการเรียนรู้ต้องให้เด็กได้สัมผัส หยิบ จับ คลำ ดม ลงมือปฏิบัติการเล่นกับ
อุปกรณ์ และแก้ไขด้วยตนเอง การสังเกตครูสาธิต เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้โดยครูไม่จำ เป็นต้องให้ข้อความรู้  เพียงแต่เป็นผู้สาธิตแล้วให้เด็กทำกิจกรรมอย่างอิสระ หากมีปัญหาให้แนะนำ หรือสาธิตซ้ำแล้วให้เด็กทำกิจกรรมต่อด้วยตนเอง การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการซึมซับการคิดและการกระทำ ที่มีลำ ดับขั้นในการเรียน

👍ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรมตามแนวการสอน
แบบมอนเตสซอรี่ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนพบว่า ระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม
ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
2. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามแนวมอนเตสซอรี่ พบว่า เด็กปฐมวัย
มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามแนวมอนเตสซอรี่โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 

                                       💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น