วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

สรุปบทความ




เด็กอนุบาล VS การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทำไมต้องสอนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปฐมวัย

  
     ⏩การเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับนี้ช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิด เป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้นไป
              วิทยาศาสตร์คือการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ
           ผู้ใหญ่หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสมดังนั้นเราจึงต้องให้ความสนใจกับเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก แต่ครูต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้ และเปิดใจยอมรับสิ่งที่ สสวท. ได้ทำมาเป็นแนวทางที่จะช่วยสร้างเด็กได้ถูกทางมากยิ่งขึ้น
          เด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ เพราะสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเป็นวิทยาศาสตร์ทั้งหมด วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาชีวิตของเด็ก เด็กสามารถเรียนวิทยาศาสตร์ได้ เพราะวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิด
           วิทยาศาสตร์หมายถึงชีวิต ง่ายที่สุดคือตัวเราและสิ่งอื่นรอบตัวทั้งคน สัตว์ พืช สิ่งของ แต่บทเรียนนั้นต้องบูรณาการเข้ากับเรื่องอื่นๆ เช่น ดนตรี ภาษา ศิลปะ เป็นต้น ที่พัฒนาเด็กไปพร้อมๆ กัน ในเวลาเดียวกัน
           😄“สสวท. ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและมีความปรารถนาที่จะช่วยส่งเสริมครูปฐมวัยให้จัดประสบการณ์แก่เด็กในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น