วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

Recorded Diary 3


วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562


Friday 16 August 2019

Time 08:30 - 12:30 o’clock


***ซึ่งในวันนี้ไม่มีคาบเรียน แต่ในสัปดาห์หน้า วันที่ 21 สิงหาคม 2562 อาจารย์ติดงานราชการ จึงมาเข้าสอนไม่ได้  อาจารย์จึงให้มาเรียนพร้อมเพื่อนๆ Sec 1 ในวันศุกร์ ที่ 16 สิงหาคม 2562

🌹The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ
            วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล ได้แก่ อากาศ ลม ดิน เครื่องกล ว่ามีประเด็นสำคัญอะไรบ้างที่ ต้องการจะจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัย กลุ่มของดิฉันได้รับมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้า เรื่องของ อากาศ มีประเด็นสำคัญดังนี้
            อากาศเกิดจากส่วนผสมต่างๆ ของ ก๊าซและไอน้ำ ได้แก่ ก๊าซ ไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน
   คุณสมบัติ  
          1) อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
          2) มีน้ำหนัก
          3) ต้องการที่อยู่
          4) เคลื่อนที่ได้
  ความสำคัญ
          1) มีความจำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
          2) ช่วยปรับอุณหภูมิโลก
          3) ทำให้เกิดลมและฝน
          4) มีผลต่อการดำรงชีวิตต่อสภาพจิตใจและร่างกายของมนุษย์
  อากาศเป็นพิษเกิดจาก
          1) ภูเขาไฟระเบิด
          2) เกิดจากการกระทำมนุษย์ เช่น การเผาไหม้ เผาป่า ควันรถ การเผาขยะ
          3) โรงงานอุตสาหกรรม
  การดูแลรักษา
          1) งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดควัน
          2) ปลูกป่า ปลูกต้นไม้ ช่วยกันอนุรักษ์

  จากนั้นอาจารย์ให้นำเสนอ สื่อการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย กลุ่มของดิฉันก็ได้เลือกสื่อเพื่อนำมาประยุกต์เป็นสื่อของตัวเองดังนี้












Recorded Diary 2





Wednesday 14 August 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

🌝The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา เข้าโปรแกรมสำหรับเช็คชื่อและส่งงาน  (Padlet) จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้แบ่งกลุ่มแล้วเข้าไปเชื่อมต่อกับ Padlet โดยการเขียนชื่อสมาชิกในกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ได้มีการตั้งคำถามว่า ในรายวิชา วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก นักศึกษาคิดว่าเราจะต้องเรียนอะไรบ้าง  อาจารย์ให้เวลาในการคิด โดยที่ห้ามเปิดดูข้อมูล เมื่อคิดได้แล้วก็ให้Postลงกลุ่มคำตอบ
            จากนั้นอาจารย์ได้ฝึกให้นักศึกษา brain ด้วยการทำท่าไข่พะโล้ ประกอบเพลงช้าง ทำเป็นจังหวะโดยกำหนดให้รอบแรก มือซ้ายกำ มือขวาแบ รอบสองมือซ้ายแบ มือขวากำ จากนั้นอาจารย์ให้เปลี่ยนท่า ในระดับที่ยากขึ้นมาอีก คือท่าที่มือขวากำแล้วมือซ้ายวางบน  ต่อไปมือขวาแบแล้วมือซ้ายกำวางไว้ข้างบนมือขวา  และสุดท้ายคือมือซ้ายกำแล้วมือขวาวางบน จากนั้นอาจารย์บอกว่าให้ทำ 1 ชุด วิธีการนี้เราสามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยได้





      
 
   


🌝Words >> คำศัพท์
            Absorb ซึมซับ
            Learning การเรียนรู้
            Behavior change การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
            Sensory motor ประสาทสัมผัส
            Ego Sentric  ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง


🌝Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้การสนใจในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อธิบายรายวิชาให้ฟังอย่างละเอียด







สรุปสื่อและตัวอย่างการสอน




🌵 แสงและการมองเห็น 🌵

แหล่งที่มา: โทรทัศน์ครู

🌴การสอนของเฮเลน มีการวางแผนเตรียมความพร้อมในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้การเล่านิทานถึงมีตัวเล็กที่กลัวความมืดมีความมืดอยู่รอบตัวเฮเลนมีการจัดกิจกรรมเชิงจินตนาการเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องแสงโดยการจัดสภาพแวดล้อมให้เสมอจริงโดยมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำให้เฮเลนกำหนดวัตถุประสงค์สำคัญสำหรับกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้ชัดเจน แต่ให้เด็กมีโอกาสสำรวจค้นพบสิ่งต่างๆหลังจากที่เฮเลนได้รับคำแนะนำเสร็จได้มีการจัดเตรียมสถานที่การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เช้าวันถัดมาเด็กตื่นเต้นกับการเตรียมจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ของครูเฮเลนที่ได้จัดเตรียมถ้ำเสมือนจริงเพื่อทดลองกิจกรรมเรื่องแสงต่อจากนั้นครูใช้คำถามถามเด็กๆว่ามีอะไรช่วยให้เห็นในที่มืดเวลาอยู่ในถ้ำบ้างเด็กๆตบอก ตะเกียง เรียกว่าแหล่งกำเนิดแสงครูถามเด็กๆอีกว่า เคยอยู่ในที่มืดกันมาก่อนไหมเพื่อให้เด็กใช้ประสบการณ์เดิมตอบคำถาม
ขั้นตอนการแสดงของครูเฮเลนคือตั้งเป็นขั้นตอนดังนี้ สำรวจค้นคว้าคาดการณ์การทดลองผลการทดลอง เด็กๆจะได้ทำกิจกรรมต่างๆทั้งแหล่งกำเนิดแสง ถ้ำมืด กล่องสว่าง ถ้ำเล็กๆ ที่ทำจากกล่องรองเท้าและกล่องเล่าเรื่องที่ใช้อุปกรณ์การแสดงกระจก


   เฮเลนแนะนำแนวคิดที่ว่าเราต้องการแสงเพื่อการมองเห็นโดยการใช้การสำรวจค้นคว้า 2 อย่างคือถ้ำใหญ่และถ้ำกล่องรองเท้าเฮเลนให้เด็กติดค้นพบเรื่องแสงแหล่งกำเนิดแสงโดยใช้กล่องแสง โต๊ะกำเนิดแสง กล่องเล่าเรื่องและกิจกรรมทั้งหมดนี้เริ่มต้นจากความสนใจในนิทานของเด็ก







แสงเป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในบางส่วนของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คำนี้ปกติหมายถึงแสงที่มองเห็นได้ซึ่ง ตามนุษย์มองเห็นได้และทำให้เกิดสัมผัสการรับรู้ภาพแสงที่มองเห็นได้ปกตินิยามว่ามีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400-700 นาโนเมตรระหว่างอินฟาเรด(ที่มีความยาวคลื่นมากกว่าและมีคลื่นกว้างกว่า)และ Ultra Violet (ที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าและมีคลื่นแคบกว่านี้)ความยาวคลื่นนี้หมายถึงความถี่ช่วงประมาณ  430 บาทเป็น 750 เทราเฮิร์ต

🍄 ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักบนโลกแสงอาทิตย์ให้พลังงานซึ่งพืชสีเขียวใช้ผลิตน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ในรูปของแป้งซึ่งปลดปล่อยพลังงานแก่สิ่งมีชีวิตที่ย่อยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ให้พลังงานแทบทั้งหมดที่สิ่งมีชีวิตใช้ในอดีตแหล่งสำคัญของแสงอีกแหล่งหนึ่งสำหรับมนุษย์คือไฟตั้งแต่แคมป์ไฟโบราณจนถึงตะเกียงเคโรซีนสมัยใหม่ด้วยการพัฒนาระบบไฟฟ้าและระบบพลังงานการให้แสงสว่างด้วยไฟฟ้าได้แทนแสงไฟสัตว์บางชนิดผลิตแสงไฟของมันเองเป็นกระบวนการที่เรียกการเรืองแสงทางชีวภาพ

🍄 คุณสมบัติปฐมภูมิของแสงที่มองเห็นได้คือความเข้มทิศทางการแผ่ความถี่หรือความยาวคลื่นและโพลาไรเซชันสวนความเร็วในสูญญากาศของแสง 299  700 400 792 458 เมตรต่อวินาทีเป็นค่าคงตัวมูลฐานหนึ่งของธรรมชาติ

🍄 ในวิชาฟิสิกส์บางครั้งคำว่าแสงหมายถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในความยาวคลื่นไม่ว่ามองเห็นได้หรือไม่ในความหมายนี้รังสีแกมมารังสีเอกซ์ไมโครเวฟและคลื่นวิทยุก็เป็นแสงด้วยเช่นเดียวกับแสงทุกชนิดแสงที่มองเห็นได้มีการแพร่และดูดซับในโฟตอน และแสดงคุณสมบัติของทั้งคลื่นและอนุภาคคุณสมบัตินี้เรียกทวิภาคของคลื่นและอนุภาค การศึกษาแสงที่เรียกทัศนสถานเป็นขอบเขตของการวิจัยที่สำคัญในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่




🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞🌞 


Recorded Diary 1



Wednesday 7 August 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

🌵The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เป็นวันเเรกที่ได้เข้าชั้นเรียน อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สิ่งที่เราต้องศึกษาเรียนรู้มีอะไรบ้าง อาจารย์ให้นักศึกษาไปดู มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd) ว่าเราต้องเรียนอะไรบ้าง การเรียนของเราจะต้องสอดคล้องกับ มคอ เเละอาจารย์ให้สร้างบล็อคหา บทความ วิจัย เเละตัวอย่างการสอน



🌲Words >> คำศัพท์
Article บทความ
Research วิจัย
Teaching Examples ตัวอย่างการสอน
Science Provision for Early Childhood การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Thai Qualifications Framework for Higher Education กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ


🍄Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้การสนใจในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อธิบายรายวิชาให้ฟังอย่างละเอียด






สรุปวิจัย



📍การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี📍


🔎ความหมายของการจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่
การเรียนรู้ของเด็กต้องเกิดจากการเห็นอย่างเป็นรูปธรรม การสัมผัส การได้หยิบจับ และ
ทดลองด้วยตนเองตามรูปแบบอย่างมีขั้นตอนและเป้าหมาย เด็กจะเรียนรู้อย่างเข้าใจจาก การสัมผัส
การใช้สมาธิและมีวินัยในตน ผลการเรียนรู้อย่างมีขั้นตอนจะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาในทุกๆด้าน ทั้งการคิด
การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น และการใช้กล้ามเนื้อ อุปกรณ์ เป็นสื่อการสอนที่สำคัญที่ทำ ให้เด็กพัฒนา
ความรู้และความคิดอย่างมีระบบ
🔏โดยสรุปการจัดการเรียนการสอนตามแนวการสอนแบบของมอนเตสเซอร์รี่มุ่งเน้นการให้
ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการสังเกต และการสำรวจด้วยตนเอง หรือ
สนับสนุนผู้เรียนให้เรียนรู้ด้วยตนเอง



👉วัตถุประสงค์ของการวิจัย
      1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังได้รับการจัด
ประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่
      2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่

👉ขอบเขตการวิจัย
       1. ขอบเขตประชากร ได้แก่ เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ ชั้นอนุบาล 2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1 จำนวน 6 ห้อง มีนักเรียน จำนวน 144 คน
       2. ขอบเขตตัวแปร
ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ตามแนวการสอนแบบ มอนเตสซอรี่
ตัวแปรตาม ได้แก่
                 1) ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 3 ด้าน คือ ทักษะด้านการสังเกต ทักษะด้านการจำแนก
ประเภททักษะด้านการสื่อความหมาย
               2) ความพึงพอใจ คือ ระดับความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่
                 3) ขอบเขตเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ดำ เนินการในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2557 -

ธันวาคม 2557

👉แนวคิดหลักการทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่
การสอนเด็กให้เกิดการเรียนรู้ต้องให้เด็กได้สัมผัส หยิบ จับ คลำ ดม ลงมือปฏิบัติการเล่นกับ
อุปกรณ์ และแก้ไขด้วยตนเอง การสังเกตครูสาธิต เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้โดยครูไม่จำ เป็นต้องให้ข้อความรู้  เพียงแต่เป็นผู้สาธิตแล้วให้เด็กทำกิจกรรมอย่างอิสระ หากมีปัญหาให้แนะนำ หรือสาธิตซ้ำแล้วให้เด็กทำกิจกรรมต่อด้วยตนเอง การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการซึมซับการคิดและการกระทำ ที่มีลำ ดับขั้นในการเรียน

👍ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรมตามแนวการสอน
แบบมอนเตสซอรี่ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนพบว่า ระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม
ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
2. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามแนวมอนเตสซอรี่ พบว่า เด็กปฐมวัย
มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามแนวมอนเตสซอรี่โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 

                                       💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

สรุปบทความ




เด็กอนุบาล VS การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทำไมต้องสอนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปฐมวัย

  
     ⏩การเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับนี้ช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิด เป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้นไป
              วิทยาศาสตร์คือการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ
           ผู้ใหญ่หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสมดังนั้นเราจึงต้องให้ความสนใจกับเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก แต่ครูต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้ และเปิดใจยอมรับสิ่งที่ สสวท. ได้ทำมาเป็นแนวทางที่จะช่วยสร้างเด็กได้ถูกทางมากยิ่งขึ้น
          เด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ เพราะสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเป็นวิทยาศาสตร์ทั้งหมด วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาชีวิตของเด็ก เด็กสามารถเรียนวิทยาศาสตร์ได้ เพราะวิทยาศาสตร์ช่วยพัฒนาการคิด
           วิทยาศาสตร์หมายถึงชีวิต ง่ายที่สุดคือตัวเราและสิ่งอื่นรอบตัวทั้งคน สัตว์ พืช สิ่งของ แต่บทเรียนนั้นต้องบูรณาการเข้ากับเรื่องอื่นๆ เช่น ดนตรี ภาษา ศิลปะ เป็นต้น ที่พัฒนาเด็กไปพร้อมๆ กัน ในเวลาเดียวกัน
           😄“สสวท. ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและมีความปรารถนาที่จะช่วยส่งเสริมครูปฐมวัยให้จัดประสบการณ์แก่เด็กในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ”


Recorded Diary 15

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15 ความรู้ที่ได้รับ วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำแผนผังความคิด สรุปเทคนิคการสอนวิทยาสตร์ 👉 เทคนิคการสอนวิทยา...