วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Recorded Diary 6



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6


วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง "สาระที่เด็กควรรู้" และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สาระที่ควรรู้
1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
3.ธรรมชาติรอบตัว
4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

👉สาระที่ควรเรียนรู้   
       👼 จุดประสงค์ที่จะกำหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัย ความต้องการ ความสนใจของเด็กอาจยืดหยุ่นเนื้อหาได้โดยคำนึงถึงประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก ผู้สอนสามารถนำสาระที่ควรเรียนรู้มาบูรณาการ จัดประสบการณ์ต่างๆให้ง่ายต่อการ เรียนรู้  ทั้งนี้มิได้ประสงค์ให้เด็กท่องจำเนื้อหา  แต่ต้องการให้เด็กเกิดแนวคิดหลังจากนำสาระการเรียนรู้นั้นๆมาจัดประสบการณ์ให้เด็กเพื่อให้บรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ สาระที่ควรเรียนรู้ยังใช้เป็นแนวทางช่วยผู้สอนกำหนดรายละเอียดและความยากง่ายของเนื้อหาให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก

1) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก  เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด  ปลอดภัย  มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี

2) เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก  เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง  หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน

3)ธรรมชาติรอบตัว  เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน

4)สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก  เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก

👉ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
        วิทยาศาสตร์ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงค์ชีวิตของมนุษย์ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะ ที่สำคัญในการค้นคว้าความรู้ มีความสามารถในการแก้ ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลท่ี่ หลากหลาย

👉ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์

1. ช่วยให้เด็กเป็นคนช่างสังเกตจากประสบการณ์ที่เด็กได้ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
2. ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
3. ช่วยให้เด็กรู้จักประโยชน์และคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
4. ช่วยให้เด็กใช้เวลาว่างอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์
5. ช่วยให้เด็กมีอิสระในการคิด การเลือกทำกิจกรรมตาม ความพึงพอใจ
6. ช่วยให้เด็กได้ใช้ส่วนต่างๆของร่างกายในการทำงานเพื่อ ประสานสัมพันธ์กันทำเพื่อให้เกิดทักษะในการเคลื่อนไหว
7. ช่วยให้เด็กกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น ตอบสนอง ความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
8. ช่วยพัฒนาความสามารถทางด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
9. ช่วยตอบสนองธรรมชาติ ตามวัยของเด็ก
10. ช่วยให้เด็กเป็นนักคิด นักค้นคว้า ทดลอง เพื่อ ส่งเสริมให้เด็กสัมผัสและปฏิบัติด้วยตนเอง

👉ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดจากการปฏิบัติและการฝึกฝนความคิดอย่างเป็นระบบ  ดังนี้

💓ทักษะการสังเกต (Observation) หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่างๆ

- เจอประสบการณ์จริง ลงมือปฎิบัติโดยการวางแผนให้เด็กเห็นและสัมผัส
- เตรียมการสอน อำนวยความสะดวก คือ หาแหล่งข้อมูล จัดหามุมประสบการณ์

💓ทักษะการวัด (Measurement) หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมืออย่างเหมาะสม และความสามารถในการอ่านค่าที่ได้จากการวัดได้ถูกต้องและใกล้เคียงกับความจริง พร้อมทั้งมีหน่วย
-ครูจะต้องอำนวยความสะดวก เพื่อหาวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อให้เด็กได้รู้จักการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ
เช่น ผลไม้ ใช้เครื่องมือ  การชั่ง นับจำนวนผลไม้ เปรียบเทียบสี

💓ทักษะการคำนวณ (Using numbers) หมายถึง ความสามารถในการบวก ลบ คูณ หาร หรือจัดกระทำกับตัวเลขที่แสดงค่าปริมาณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งได้จากการสังเกต การวัด การทดลองโดยตรง หรือจากแหล่งอื่น

💓ทักษะการจำแนกประเภท (Classification) หมายถึง ความสามารถในการจัดจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ในการจัดจำแนก เกณฑ์ดังกล่าวอาจใช้ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยจัดสิ่งที่มีสมบัติบางประการร่วมกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
  การจัดประเภท เกณฑ์ในการจัดหมวดหมูู่
เช่น ผลไม้ที่มีสีเขียว เอาจำแนกเป็นกลุ่มสีของผลไม้

💓ระหว่างสเปซกับสเปซ และสเปซกับเวลา (Space/space Relationship and Space/Time Relationship) สเปซ (Space) ของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างบริเวณที่วัตถุนั้นครอบครองอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างและลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น

1) ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 มิติ กับ 3 มิติ

2) สิ่งที่อยู่หน้ากระจกเงากับภาพที่ปรากฏจะเป็นซ้ายขวาของกันและกันอย่างไร

3) ตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง

4) การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุกับเวลาหรือสเปสของวัตถุ ที่เปลี่ยนแปลงไปกับเวลา

💓ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing data and communication)
หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นมาจัดกระทำใหม่โดยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดเรียงลำดับ การแยกประเภท

💓ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)
 หมายถึง ความสามารถในการอธิบายข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลที่มีอยู่อาจได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง คำอธิบายนั้นได้ มาจาก ความรู้หรือประสบการณ์เดิมของผู้สังเกต
ทักษะการพยากรณ์ (Prediction) หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีในเรื่องนั้นมาช่วยในการทำนาย

👉ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

         การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่  1  ถึงขั้นที่  5  ดังนี้

               💗 ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของปัญหา  ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น  ต้นไม้โตได้อย่างไร

                💗ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน  เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน  ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า  ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น

               💗 ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บข้อมูล  เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ  2

                💗ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล  ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น  ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน

               💗 ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน  ว่าผลที่เกิดคืออะไร  เพราะอะไร  ทำไม
👉กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจวิทยาศาสตร์  พัฒนาเป็นกระบวนการเรียนรู้  เกิดความคิดสร้างสรรค์  เกิดความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น  หลักการจัดกิจกรรมมีอย่างน้อย  5  ประการ  ดังนี้  (ประสาท  เนืองเฉลิม,  2546 : 28)

                        1.  มีการกำหนดจุดประสงค์อย่างชัดเจน

                        2.  ครูเป็นผู้กำกับให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้

                        3.  กิจกรรมที่จัดขึ้นสนองตอบความสนใจของเด็ก

                        4.  สอดคล้องกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน

                        5.  กิจกรรมที่จัดต้องส่งเสริมให้เด็กมีภาวะสร้างสรรค์และพัฒนาระบบการคิดของเด็ก
    👪 กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องเป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมการเรียนรู้  และพัฒนาปัญญาด้วยความสนุก  เด็กต้องได้ปฏิบัติจริงและเป็นไปได้  เด็กควรเรียนรู้จากปรากฏการณ์ธรรมชาติจริงที่มีความเป็นไปได้  เด็กเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัสและการกระทำ  การเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นการเรียนรู้โดยการลงมือทำงาน  เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่ผู้เรียนได้ทบทวนเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง  เกิดจากมุมมองจากการได้สัมผัส  ได้รับรู้ประสบการณ์ของตน  ประสบการณ์นับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า  กระตุ้นให้เกิดการคิดและการเรียนรู้


คำศัพท์
1.variables  ตัวแปร
2.hypothesis    สมมติฐาน
3.Formulating กำหนด
4.Prediction  คาดการณ์
5.Identifying ระบุ

💓แบบประเมิน💓
แบบประเมินตนเอง : ตนเองจดบันทึกที่อาจารย์สอนและเข้าใจเนื้อหา
แบบประเมินเพื่อน : เพื่อนแต่ละคนตั้งใจเรียน ซักถามตอบคำถามอาจารย์อยู่ตลอด

แบบประเมินอาจารย์  : อาจารย์ตั้งสอน และค่อยๆอธิบายเนื้อหาไปอย่างๆช้า ถ้าใครมีคำถามอาจารย์ก็จะตอบตรงประเด็นที่นักศึกษาถาม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น